โน้ตเสียงปาฬิ

พระไตรปิฏกสัชฌายะ


พระไตรปิฏกสากล
ฉบับเพื่อการอ่านออกเสียง

ถอดเสียงตามหลักไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิด้วยอักขะระในภาษาไทยที่ใช้ในปัจจุบัน

โน้ตเสียงปาฬิ
เพื่อจังหวะการออกเสียงที่ถูกต้อง

บรรดาอาสาสมัครและผู้เชียวชาญของมูลนิธิ ได้ทำการแบ่งพยางค์และถอดเสียงพิมพ์พระไตรปิฏกกว่า 3 ล้านคำ จากนั้นศึกษาจังหวะการอ่านออกเสียง คะรุ ละหุ ตามไวยากรณ์กัจจายะนะ แล้วจัดทำเป็นดัชนีเสียงในลักษณะเดียวกับโน้ตดนตรี เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถออกเสียง ละหุ คะรุ ได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระธัมมทานแก่สถาบันสำคัญต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันพบว่ามีไม่น้อยกว่า ๒๖๐ สถาบันที่สำคัญระดับนานาชาติ ใน ๓๐ ประเทศที่ได้รับพระราชทานจากกรุงสยาม และมีเป็นจำนวนมากที่ยังรักษาไว้เป็นอย่างดี


ผลจากการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งใช้ เป็นต้นฉบับสำคัญในการสังคายนา
ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้จัดพิมพ์ต้นฉบับจากการตรวจทานใหม่และน้อมถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ กุลเชษฐ์แห่งพระราชวงศ์จักรี เพื่อพระราชทานเป็นพระไตรปิฎกฉบับสากล จากการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ แก่นานาประเทศตามรอยพระไตรปิฎก จปร. อักขะระสยาม-ปาฬิพ.ศ. ๒๔๓๖ อันเป็นฉบับที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดให้ตีพิมพ์เป็นหนังสือชุดแรกของโลก และพระราชทานเป็นพระธัมมทานจากกรุงสยามแก่สถาบันสำคัญในนานาประเทศเมื่อศตวรรษที่แล้ว










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

แสตมป์ 100 ปี สมเด็จพระสังฆราช