บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มีนาคม, 2018

แสตมป์ 100 ปี สมเด็จพระสังฆราช

รูปภาพ
แสตมป์ 100 ปี สมเด็จพระสังฆราช บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด  (ปณท) เชิญชวนประชาชนไทย น้อมรำลึกในพระกรุณาธิคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  บูชาแสตมป์และสิ่งสะสมที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระสังฆราช แผ่นชีทที่ระลึกชุดงานฉลองพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระสังฆราชฯ  เนื่องในโอกาสฉลองพระชันษา 100 ปี 3 ตุลาคม 2556 โดยมีภาพสมเด็จพระสังฆราชเป็นพื้นหลัง พร้อมโคลงสดุดีศรีศตวรรษ มหาสังฆราชา โดยกวีซีไรต์ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พระประวัติอยู่ด้านหลัง ตราประทับสัญลักษณ์ตราฉลองพระชันษา 100 ปี และภาพแสตมป์ที่สะท้อนพระจริยาวัตรทั้ง 4 แบบ ทั้งนี้สำหรับ  แสตมป์ที่ระลึกชุดงานฉลองพระชันษา  100 ปี สมเด็จพระสังฆราชฯ  ประกอบด้วยภาพแสตมป์ที่สะท้อนพระจริยาวัตร ทั้ง 4 รูปแบบ อันได้แก่ ภาพพระรูปเมื่อครั้งเป็นสามเณรเจริญ คชวัตร, พระรูปขณะเสด็จออกบิณฑบาตเมื่อครั้งเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2516, พระรูปเมื่อครั้งเสด็จไปประทับ ณ สำนักสงฆ์ดอยปุย จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2536 และพระรูปขณะทรงประทานสิ่งของแก่เด็กนักเรียนชาวม้ง ณ สำนักสงฆ์

พระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ

รูปภาพ
เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระไตรปิฎกสากล  ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร.ต้นฉบับปาฬิภาสา  และชุด ส.ก.โน้ตเสียงปาฬิ พุทธศักราช 2559 ชุดปฐมฤกษ์ เวลา 14.22 น. พระราชทานพระราชวโรกาสให้ ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตประธานมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล คณะกรรมการมูลนิธิพระไตรปิฎกสากล และผู้ที่เกี่ยวข้อง เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระไตรปิฎกสากล ฉบับสัชฌายะ ชุด ภ.ป.ร.ต้นฉบับปาฬิภาสา และชุด ส.ก.โน้ตเสียงปาฬิ พุทธศักราช 2559 ชุดปฐมฤกษ์ และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายอิเล็กทรอนิกส์สัชฌายะ ซึ่งบันทึกเสียงพระไตรปิฎกสัชฌายะจากโน้ตเสียงปาฬิ ชุด ส.ก. มูลนิธิพระไตรปิฎกสากล

ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

รูปภาพ
Tipiṭaka Studies Reference 2010-11 & Royal Institute Thailand   ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง 2553-2554 พันเอก สุรธัช บุนนาค ประธานโครงการพระไตรปิฎกสากล ซึ่งเผยแผ่เป็นพระธัมมทานในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เข้าพบและฉายวีดีทัศน์ ให้แก่นายกราชบัณฑิตยสถาน, ศ.เกียรติคุณ ดร. ปัญญา บริสุทธิ์, เนื่องในโอกาสที่ ศ.ดร. เปี่ยมศักดิ์ เมนะเศวต ราชบัณฑิตสำนักวิทยาศาสตร์ และอุปนายกราชบัณฑิตยสถาน คนที่ 1 ได้รับแต่งตั้งจากนายกราชบัณฑิตยสถานให้เข้าร่วมพิธีมอบพระไตรปิฎกสากลเป็นพระธัมมทานแก่มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา 8 มีนาคม พ.ศ. 2553  ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากราชบัณฑิตยสถานได้มีส่วนให้คำปรึกษาแก่กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 อาทิ ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา (ภาษาไทย); อ.สิริ เพ็ชรไชย ปธ.9 (ภาษาปาฬิ); พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตฺโต (บทนำเรื่องการสังคายนาสากลนานาชาติ); ศ. วิสุทธิ์ บุษยกุล (ภาษาอังกฤษ); ศ. เสถียรพงษ์ วรรณปก ปธ.9 (พุทธศาสนา); ศ.ดร. พงษ์ศรี เลขะวัฒนะ (การแปลภาษาอังกฤษ); ท่านผู้หญิงวรุณยุพา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ปร

โน้ตเสียงปาฬิ

รูปภาพ
พระไตรปิฏกสัชฌายะ พระไตรปิฏกสากล ฉบับเพื่อการอ่านออกเสียง ถอดเสียงตามหลัก ไวยากรณ์กัจจายะนะปาฬิ ด้วยอักขะระในภาษาไทย ที่ใช้ในปัจจุบัน โน้ตเสียงปาฬิ เพื่อจังหวะการออกเสียงที่ถูกต้อง บรรดาอาสาสมัครและผู้เชียวชาญของมูลนิธิ ได้ทำการแบ่งพยางค์และถอดเสียงพิมพ์พระไตรปิฏกกว่า 3 ล้านคำ จากนั้นศึกษาจังหวะการอ่านออกเสียง คะรุ ละหุ ตามไวยากรณ์กัจจายะนะ แล้วจัดทำเป็นดัชนีเสียงในลักษณะเดียวกับโน้ตดนตรี เพื่อให้บุคคลทั่วไปสามารถออกเสียง ละหุ คะรุ ได้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็นพระธัมมทานแก่สถาบันสำคัญต่างๆ ทั่วโลก ปัจจุบันพบว่ามีไม่น้อยกว่า ๒๖๐ สถาบันที่สำคัญระดับนานาชาติ ใน ๓๐ ประเทศที่ได้รับพระราชทานจากกรุงสยาม และมีเป็นจำนวนมากที่ยังรักษาไว้เป็นอย่างดี ผลจากการประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกนานาชาติ พ.ศ. ๒๕๐๐ ซึ่งใช้ เป็นต้นฉบับสำคัญในการสังคายนา ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ได้จัดพิมพ์ต้นฉบับจากการตรวจทานใหม่และน้อมถวายแด่สมเด็จพระเจ้าพี่

ปาฬิภาสา (Pāḷi Pāsā)

รูปภาพ
โครงการพระไตรปิฎกสากลจึงได้นำเสนอชุดอักขะระปาฬิ ที่สามารถถอดเสียงปาฬิในพระไตรปิฎกได้ครบถ้วนและแม่นตรง ชุดอักขะระปาฬิ พ.ศ. 2559 (Akkharap ā ḷ i : P ā ḷ i Alphabet 2016) เป็นชุดอักขะระที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ในโครงการพระไตรปิฎกสากล โดยออกแบบตามการอ้างอิงกับ "อักขะระสยาม-ปาฬิ" ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. 2436 ให้มีองค์ประกอบเป็นสัททสัญลักษณ์ตามกฎไวยากรณ์กัจจายนะปาฬิ โดยมีเสียง พ่นลม และไม่พ่นลม เป็นต้น ตลอดจนกำหนดนิยามว่า เป็นสัญลักษณ์ที่ไม่มีเสียงวรรณยุกต์สูงต่ำ อักขะระปาฬิ ใช้ในการเขียนเสียงปาฬิประกอบ "โน้ตเสียงปาฬิ" ในพระไตรปิฎกสัชฌายะ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของนวัตกรรมพระไตรปิฎกสากล ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างสรรค์พัฒนาสัททสัญลักษณ์และอักขรวิธี "อักขะระสยาม-ปาฬิ" ในพระไตรปิฎก จ.ป.ร. 2436 ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมการออกเสียงสัชฌายะในปัจจุบัน ตามสิทธิบัตรของโครองการพระไตรปิฎกสากล เรื่อง การแบ่งพยางค์ดิจิทัล เลขที่ 46390 และลิขสิทธิ์โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เลขที่ 305129 อักขะระปาฬิ ใช้ในการเขียนเสียงปาฬิประกอบ "โน้ตเสียงปาฬิ" ในพระไตรปิฎกสัชฌายะ ซึ่ง

พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ออสโล นอรเวย์ 2552

รูปภาพ
พระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม ออสโล นอรเวย์ 2552 World Tipiṭaka Foundation หอสมุดมหาวิทยาลัยแห่งออสโล ในอาคารแห่งใหม่ที่ทันสมัยกลมกลืน และเป็นมิตรกกับสิ่งแวดล้อม เช่น ผนังกระจกสูงเห็นสวนป่าภายนอกที่งดงาม อันเป็นการออกแบบอาคารให้้เกิดบรรยากาศในการศึกษาค้นคว้าอย่างสูงสุด  หอสมุดแห่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยออสโล ซึ่งเก่าแก่และมีเชื่อเสียงที่สุดในประเทศ ปัจจุบันเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก จปร. อักษรสยาม การพระราชทานพระไตรปิฎกอักษรสยามเพื่อเก็บรักษา ณ สถาบันการศึกษาสมัยใหม่ นอกเหนือจากการเก็บตามหอไตรแต่เดิม เป็นพระราชวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการจัดพิมพ์และเผยแผ่พระไตรปิฎกเป็นชุด ชุดแรกของโลก สมควรแก่พระราชสมัยญาว่า ทรงเป็น "พระบรมธัมมิกมหาราช" ด้วย จดหมายเหตุพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ดำเนินงานโดยกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพ.ศ. 2542-2552.  สนับสนุนโดยโครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนร

โครงการวิปัสสนา

รูปภาพ