สถาบันที่ได้รับพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกสากล
The World Tipitaka & International Institutions
ประดิษฐาน ณ พระราชวังแห่งสันติภาพ
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์
เฉลิมพระเกียรติ
โครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังปริณายก
ได้ดำเนินโครงการตรวจทานและจัดพิมพ์พระไตรปิฎก
เพื่อเฉลิมพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์พุทธมามกะไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542
และในปี พ.ศ. 2549 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ผู้ทรงเป็นองค์ประธานกิตติมศักดิ์การพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลใน
นานาประเทศ
ได้โปรดให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกชุดพิเศษพร้อมหนังสือพระไตรปิฎกปาฬิอักษรโรมัน
ชุด 60 เล่ม และหนังสือพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ชุด 20 เล่ม รวม 60 เล่ม
และได้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงครงสิริราชสมบัติ 60 ปี
สถาบันที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากล
ในเบื้องต้นได้มีการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลชุดปฐมฤกษ์ และชุดพิเศษ
แก่สถาบันสำคัญของโลกที่ได้ขอพระราชทานมา
โดยมีผู้อุปถัมภ์ค่าใช้จ่ายการจัดพิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลผ่านกองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มโครงการและดำเนินการจัดพิมพ์ ดังนี้ :
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา
ในฐานะที่ลังกาเป็นประเทศที่จารพระไตรปิฎกเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรกใน
โลก
โดยสมเด็จองค์ประธานกิตติมศักดิ์เสด็จจาริกไปพระราชทานแก่ประธานาธิบดีแห่ง
ประเทศศรีลังกา ณ กรุงโคลัมโบ เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2548 (2005)
ใน พ.ศ. 2552
รวมสถาบันที่ได้รับพระราชทานและประดิษฐานพระไตรปิฎกสากลแล้วทั้งสิ้น คือ
- ทำเนียบประธานาธิบดีแห่งศรีลังกา Presidential Mansion, Colombo, Sri Lanka (2005)
- ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย Constitutional Court of Thailand (2005)
- หอสมุดมหาวิทยาลัยอุปซาลา สวีเดน Carolina Rediviva, Uppsala University, Sweden (2005)
- รัฐสภาแห่งศรีลังกา Parliament of Sri Lanka (2006)
- สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทญี่ปุ่น Japan Theravāda Buddhist Association (2007)
- มหาวิทยาลัยโคมาซาวา ญี่ปุ่น Komazawa University, Tokyo (2007)
- ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเนเธอร์แลนด์ International Court of Justice, Netherlands (2007)
- สมาคมมหาโพธิแห่งอินเดีย พุทธคยา Maha Bodhi Society, Buddhagaya, India (2007)
- มหาวิทยาลัยลุนด์ สวีเดน Lund University, Sweden (2007)
- ศาลฎีกาแห่งราชอาณาจักรไทย The Supreme Court of Thailand (2007)
ในปี พ.ศ. 2551
สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่นเป็นผู้นำในการขอพระราชทานพระไตรปิฎกสากล
จากประเทศไทย โดยดำเนินการรวบรวมสถาบันต่างๆ ทั่วประเทศญี่ปุ่น
ที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิ อักษรสยาม ในสมัย ร.5
และสถาบันการศึกษาระดับนานาชาติในญี่ปุ่น รวม 14 สถาบัน
ซึ่งสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี
เสด็จจาริกไปพระราชทานพระไตรปิฎกสากล ณ พุทธสถานชิเตนโนจิ กรุงโอซาก้า
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551
ดังมีรายชื่อสถาบันสำคัญที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากลดังนี้
- มหาวิทยาลัยชิเตนโนจิ Shitennoji University, Osaka (2008)
- มหาวิทยาลัยโคย่าซัง Koyasan University, near Osaka (2008)
- ห้องสมุดเอียซัง Eizan Bunko Library, near Kyoto (2008)
- ห้องสมุดนิทไทจิ Kakuozan Nittaiji Library, Nagoya (2008)
- ห้องสมุดรัฐสภาแห่งประเทศญี่ปุ่น The National Diet Library, Kyoto (2008)
- มหาวิทยาลัยโตเกียว Tokyo University, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยโอตานิ Otani University, Kyoto (2008)
- มหาวิทยาลัยเรียวโกกุ Ryukoku University, Kyoto (2008)
- มหาวิทยาลัยไตโช Taisho University, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยฮานาโซโน Hanazono University, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยริชโช Rissho University, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยโตเกียวการศึกษาต่างประเทศ Tokyo University of Foreign Studies, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยโอซาก้า Osaka University, Osaka (2008)
- สมาคมพุทธศาสนาเถรวาทแห่งญี่ปุ่น Japan Theravāda Buddhist Association, Tokyo (2008)
- มหาวิทยาลัยอาอิชิ กากุอิน Aichi Gakuin University, Nagoya (2008)
- มหาวิทยาลัยโดโฮ Doho University, Nagoya (2008)
และเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2551
ได้มีพิธีมอบพระไตรปิฎกสากลเป็นพระธัมมทานเนื่องในงานพระเมรุ
ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จ พระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์อุปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล
ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในฐานะที่เป็นสถาบันที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากลเป็นปฐมฤกษ์ เป็นผู้แทนจัดมอบพระธัมมทานแก่สถาบันสำคัญระดับนานาชาติ 10 สถาบัน ใน 10 ประเทศ ได้แก่
ศาลรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในฐานะที่เป็นสถาบันที่ได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกสากลเป็นปฐมฤกษ์ เป็นผู้แทนจัดมอบพระธัมมทานแก่สถาบันสำคัญระดับนานาชาติ 10 สถาบัน ใน 10 ประเทศ ได้แก่
- ห้องสมุดพุทธกริสติประชาสังฆ์บังคลาเทศ Library of Bouddha Kristi Pracha Sangha, Dhaka, People 's Republic of Bangladesh (2008)
- มหาวิทยาลัยฮ่องกง The University of Hong Kong, Hong Kong, People's Republic of China (2008)
- สภาพระไตรปิฎกสากลแห่งญี่ปุ่น The World Tipiṭaka Council Japan, Tokyo, Japan (2008)
- สถาบันนาลันทา Nalanda Institute, Salangor, Malaysia (2008)
- หอจดหมายเหตุแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ The National Archives of the Netherlands, the Hague (2008)
- สหพันธ์พระพุทธศาสนาแห่งนอร์เวย์ The Buddhist Federation of Norway, Oslo, Kingdom of Norway (2008)
- มหาวิทยาบัยดองกุกแห่งเกาหลีใต้ Dongguk University, Seoul, Republic of Korea (2008)
- สมาคมพุทธธัมม์มันดาละแห่งสิงคโปร์ Buddha Dhamma Mandala Society, Singapore, Republic of Singapore (2008)
- พระราชวังพระทาฐธาตุแห่งศรีลังกา The Palace of the Holy Tooth Relic, Kandy, Democratic Socialist Republic of Sri Lanka (2008)
- หอสมุดแห่งชาติสวีเดน The National Library of Sweden, Stockholm, Kingdom of Sweden (2008)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น