งานประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติ 2552
เนื่องในมงคลวโรกาสที่ใต้ฝ่าพระบาททรงเจริญพระชนมายุ ๙๖ พรรษา
วันที่ ๓ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒
"...And on this auspicious occasion, I am very honoured to have this
opportunity to present
this Tipiṭaka Studies Reference (Pāḷi language in Roman Script), the first special edition in Thailand,
to this unique international conference,
through Phra Prommuni, deputy abbot and chair of the
organizing committee." ..." (แปลภาษาไทย) ในโอกาสอันเป็นมงคลนี้
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกีัยรติที่จะได้มอบ "ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง (ภาษาปาฬิ อักษรโรมัน)" ชุด
40 เล่ม ซึ่งเป็นชุดพิเศษชุดแรกในประเทศไทย สำหรับการประชุมวิชาการภาษาปาฬิครั้งพิเศษครั้งนี้
แก่พระเดชพระคุณพระพรหมโมลี รองเจ้าอาวาส และประธานอำนวยการจัดงาน"
-----------------
Remarks
by
H.E.
Abhisit Vejjajiva,
Prime Minister of the Kingdom of Thailand
Prime Minister of the Kingdom of Thailand
The International Buddhist Conference
In Honour of
His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara
The Supreme Patriarch of the Kingdom of Thailand
In Honour of
His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara
The Supreme Patriarch of the Kingdom of Thailand
1
October B.E. 2552 (2009)
at Wat Bovornives Vihāra , Bangkok
at Wat Bovornives Vihāra , Bangkok
Most Venerable Somdet Phra Ñāṇavarodom
Venerables and Distinguished Guests,
เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่
๑-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
โดย
วัดบวรนิเวศวิหาร มหาวิทยาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก
สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ
Ladies and Gentlemen,
1. I feel truly honoured to be here, in presence of great Buddhist
scholars both from abroad and Thailand, for the opening ceremony of the
International Buddhist Conference on ‘Buddhism in the New Century’ held
in honour of the auspicious 96th Birthday Anniversary Celebration of His
Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara, the Supreme Patriarch of the Kingdom
of Thailand. His Holiness is one of the most prominent Buddhist scholars
in Thailand and this Conference is a truly befitting tribute to His
Holiness.
2. The Conference’s theme, ‘Buddhismin the New
Century’,is most appropriate, as Buddhists adapt religious teachings to
their daily lives amidst global challenges and changes. In Buddhism, the
three main Buddhist celebrations Makabucha Asalhabucha, and Visakabucha
are observed by Buddhists the world over. Our task, as Government, is
to strengthen the spiritual attachment of Buddhists to the religion,
including through devoted observance of these holy days.
3. As a Buddhist myself, I fully understand that
Buddhism aims for compassion, the elimination of suffering, inner peace
and happiness, which would in turn lead to peace and happiness in the
world. This is evident from the words of the Lord Buddha himself when he
sent out his monks to disseminate Buddhism for the first time: “Go
forth, O monks, for the good of the many, for the happiness of the many,
out of compassion for the world, for the benefit, for the good, for the
happiness of the divine and men."
4. This august gathering of great Buddhist scholars
will not only facilitate the exchange of Dhammic views among scholars
themselves, but also serve as a medium of cooperation in disseminating
Buddhism to the global audience. This is indeed in keeping with the
Buddhist tradition of working hand in hand for world peace and
happiness.
5. Most importantly, I have learnt that this
Conference is very unique because this is indeed the first Buddhist
Conference ever held in Thailand that will use Pāḷi as the language
medium. I appreciate
your noble efforts and I do hope that this will be the beginning of the
development of studies and the use of the language in Thailand. In the
future, may well become the linguafranca among Theravāda Buddhist
nations.
6. On behalf of the Royal Thai Government and the
Thai people, I would like to express my appreciation to all venerables
and participants for taking your time to participate in this Conference
as a tribute to His Holiness Somdet Phra Ñāṇasaṃvara , the Supreme
Patriarch of the Kingdom of Thailand. With your permission, may I
declare this Conference open. May it proceed with success and achieve
all its goals.
7. And on this auspicious occasion, I am very honoured to have this opportunity to present
this Tipiṭaka Studies Reference (Pāḷi language in Roman Script),
the first special edition in Thailand, to this unique international
conference, through Phra Prommuni, deputy abbot and chair of the
organizing committee.
เนื่อง
ในวโรกาสที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
องค์สังฆราชูปถัมภ์พระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน (World Tipitaka Project)
ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ
ผู้ดำเนินโครงการพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมัน
ได้จัดพิมพ์ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง ภาษาปาฬิอักษรโรมัน ชุด 40 เล่ม
(Tipitaka Studies Reference) ขึ้นเป็นพิเศษ
ในการนี้ ฯพณฯ
อภิสิทธิ์ฺ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เป็นผู้มอบหนังสือ ปทานุกรม ชุด 40
เล่มนี้ แก่การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนานานาชาติภาษาปาฬิ
ซึ่งจัดขึ้นเทิดพระเกียรติสมเด็จพระสังฆราช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 1
ตุลาคม พ.ศ. 2552
ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง
ภาษาปาฬิอักษรโรมัน เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพระไตรปิฎกสากล อักษรโรมัน
ซึ่งได้ดำเนินงานตั้งแต่ พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน
อันเป็นการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกภาษาปาฬิ ฉบับสังคายนานานาชาติของโลก
โดยสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทรงเป็นองค์พระสังฆราชูปถัมภ์ และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้ากัลยาณิวัฒนา
กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
ทรงเป็นประธานกิตติมศักดิ์การพระราชทานชุดปฐมฤกษ์ เมื่อ พ.ศ. 2548.
ปัจจุบันเผยแผ่โครงการสมทบกองทุนเผยแผ่พระไตรปิฎกสากลในสมเด็จกรมหลวงนราธิวาสราช
นครินทร์ เป็นผู้ดำเนินการ ร่วมกับ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ
ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ ซึ่งผู้จัดพิมพ์เป็นธัมมทาน
ประชุมวิชาการพระพุทธศาสนานานาชาติเทิดพระเกียรติ
งานฉลองพระชันษา ๙๖ ปี
สมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่
๑-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
โดย
วัดบวรนิเวศวิหาร มหาวิทยาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก
สมาคมมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติ
หลักการและเหตุผล
เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒนมหาเถร) ทรงเป็นพระมหาเถระผู้มีบทบาทและผลงานสำคัญในทางพระพุทธศาสนาในประเทศไทย รวมไปถึงในต่างประเทศ ทั้งในด้านการศึกษา การเผยแผ่ และการปฏิบัติผลงานของพระองค์เป็นที่ปรากฏทั้งในรูปของศาสนกิจ พระนิพนธ์พระโอวาท บทอบรมกรรมฐาน และพระจริยาหวัตรดังเป็นที่ทราบกันทั่วไป นับว่าทรงเป็นพระมหาเถระที่ทรงมีบทบาทและผลงานที่โดดเด่นเป็นคุณประโยชน์แก่ พระพุทธศาสนา ประชาชน และชาติบ้านเมืองพระองค์หนึ่ง ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ควรที่มหาชนจะได้ศึกษาและสืบสานบทบาทและผลงานของพระองค์ในด้านต่าง ๆ ให้กว้างขวางและต่อเนื่องสืบไป
ฉะนั้น ในวโรกาสอันเป็นมงคลที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษา ๙๖ ปีวันที่๓ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๕๒ นี้เห็นสมควรจัดการประชุมเชิงวิชาการในระดับประเทศและนานาชาติ
เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณ
สมเด็จพระสังฆราช และเป็นโอกาสให้นักวิชาการทางพระพุทธศาสนา
ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
มาร่วมพบปะและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องพระพุทธศาสนา ในหลากหลายมุมมอง
ทั้งนี้ เพื่อประกาศพระเกียรติคุณเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
องค์ประมุขแห่งคณะสงฆ์ไทยให้เป็นที่ปรากฏแผ่ไพศาลและเป็นการส่งเสริมการ
ศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งสร้างความสมัครสมานร่วมมือของชาวพุทธทุกหมู่
เหล่า
วัตถุประสงค์
- เพื่อเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ให้เป็นที่ปรากฏแผ่ไพศาล
- เพื่อแลกเปลี่ยนทรรศนะและประสบการณ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
- เพื่อส่งเสริมการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ
การดำเนินงานจัดการประชุม โดยแบ่งเป็น ๓ ภาคคือ
- ภาคการประชุมนานาชาติ ภาคภาษาบาลี เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ เป็นการบรรยายและอภิปรายเป็นภาษาบาลีโดยนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
- ภาคการประชุมนานาชาติภาคภาษาอังกฤษ เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่เป็นการบรรยายและอภิปราย โดยนักวิชาการทางพระพุทธศาสนา ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
- ภาคการประชุมพระพุทธศาสนา ภาคภาษาไทย เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ การประชุมวิชาการทางพระพุทธศาสนาเทิดพระเกียรติโดยนักวิชาการทางพระพุทธ ศาสนาในประเทศไทย
เป้าหมายผู้ร่วมงาน
จำนวนประมาณ ๑,๐๐๐ รูป/คน- พระเปรียญธรรม ๙ ประโยค พระนักศึกษาสำนักเรียนบาลีต่าง ๆ ผู้สนใจในภาษาบาลีพระพุทธศาสนา และสมเด็จพระสังฆราช
- นิสิต นักศึกษา อาจารย์ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์)
- พระภิกษุสามเณร ประชาชนทั่วไป
- นักวิชาการและผู้สนใจชาวต่างประเทศ
- ผู้สื่อข่าว
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
- ระหว่างวันที่๑-๓ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
- วันที่๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุมนานาชาติเรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ภาคภาษาบาลี
- วันที่ ๒-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุม เรื่อง พระพุทธศาสนาในศตวรรษใหม่ ภาคภาษาไทย พระพุทธศาสนาวิชาการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ที่วัดบวรนิเวศวิหาร
- วันที่ ๒-๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ ประชุม เรื่อง Buddhism in the New
Century ภาคภาษาอังกฤษ
พระพุทธศาสนาวิชาการเทิดพระเกียรติเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร
สมเด็จพระสังฆราช ที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชันษา ๙๖ ปีวัดบวรนิเวศวิหาร สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มหาวิทยาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาโลก สมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนาเถรวาทนานาชาติสถานที่ดำเนินการ
ห้องประชุมมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, อาคาร สว ธรรมนิเวศ, องค์การ พ.ส.ล. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ- กระตุ้นให้เห็นคุณค่าของภาษาบาลีในการจรรโลงพระพุทธศาสนา และส่งเสริมให้สร้างวรรณกรรมทางภาษาบาลีใหม่ๆ
- ทำให้พระบุคคลิกภาพในหลายๆ ด้าน ของ เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศและนานาชาติ
- ทำให้เข้าใจทิศทางของพระพุทธศาสนาในปัจจุบันและสู่ศตวรรษใหม่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น