นโยบาย คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
นโยบาย
คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน
คณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน
อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
1.
การอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
สนับสนุนการดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนสถาน
และสนับสนุนการจัดสร้างศาสนสถาน อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
เพื่อการใช้ประโยชน์ทางศาสนา
พร้อมทั้งส่งเสริมให้คงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
2. การส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา
ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนเข้าใจและเข้าถึงหลักคำสอนทางศาสนา
พร้อมทั้งนำไปปฏิบัติให้เกิดผล สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนดี
มีคุณธรรมนำความรู้ อันส่งผลดีต่อการสืบทอดศาสนา และดำรงความสงบสุขของสังคม
3. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างองค์กร
จะยึดถือหลักการการมีส่วนร่วมในลักษณะภาคีร่วมดำเนินงานโดยแบ่งบทบาทหน้าที่
ความรับผิดชอบหลัก
ให้มีความชัดเจนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์โบราณสถานทางศาสนา
อันประกอบด้วยกรมศิลปากร
กรมการศาสนาและสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติรวมทั้งภาคประชาชน
ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ให้เกิดความเห็นพ้องต้องกัน
เพื่อใช้กำหนดรูปแบบ แนวทางและวิธีการปฏิบัติให้เกิดความเหมาะสม
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4. บทบาทของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ให้การสนับสนุนบุคลากรและงบประมาณ
อีกทั้งส่งเสริมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน
รวมถึงการเผยแผ่ศาสนสถานตามกำลังความสามารถ
โดยดำเนินงานอยู่ภายใต้กรอบของความมีเหตุมีผล ความพอประมาณ
รายนามคณะกรรมการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน
อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์
1. นายเกษม วัฒนชัย | ประธานกรรมการ |
2. นายจิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา | รองประธานกรรมการ |
3. ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ | กรรมการ |
4. พลอากาศตรีอาวุธ เงินชูกลิ่น | กรรมการ |
5. อธิบดีกรมศิลปากร | กรรมการ |
6. อธิบดีกรมการศาสนา | กรรมการ |
7. ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ | กรรมการ |
8. นายอนุชา เสมารัตน์ | เลขานุการ |
ตลอดห้วงเวลาที่ผ่านมา
สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
เป็นหนึ่งในองค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญของโบราณสถานซึ่งมีความเก่าแก่และ
เป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ ที่แสดงร่องรอยทางประวัติศาสตร์ สะท้อนภูมิปัญญา
และความมีอารยะของบรรพชนไทยจึงมีแนวคิดที่จะสนับสนุนและร่วมมือกับหน่วยงาน
ต่าง ๆ รวมทั้งประชาชนทุกภาคส่วนในการดูแลและบำรุงรักษา
ตลอดจนบูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุสำคัญ ทั้งที่เป็นสถานที่ราชการ
อาคารที่พักอาศัย และโดยเฉพาะศาสนสถานของแต่ละศาสนา
ที่ส่วนใหญ่ได้รับการตกแต่งอย่างงดงามอันเป็นผลมาจากความศรัทธาของศาสนิกชน
เช่นเดียวกับปูชนียสถานในพระพุทธศาสนา
ที่พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ณ
อาณาบริเวณต่าง ๆ ของกรุงรัตนโกสินทร์
ซึ่งล้วนมีสถาปัตยกรรมที่งดงามวิจิตรด้วยฝีมืออันประณีตของบรรดาช่างเมื่อครั้งอดีต
ซึ่งต่างอุทิศตนเพื่อเนรมิตรรังสรรค์สุดยอดศิลปกรรมอันเป็นเกียรติยศประดับแผ่นดิน อย่างไรก็ตาม โบราณสถานต่าง ๆ
ย่อมทรุดโทรมและเสื่อมสลายไปตามเวลา แต่หากเล็งเห็นคุณค่า
ประกอบกับมีความเข้าใจแนวทางการอนุรักษ์ที่สอดประสานไปกับการพัฒนา
และบูรณาการวิวัฒนาการการช่าง ความรุ่งเรืองของสถานที่ต่าง ๆ
ย่อมกลับสู่สภาพใกล้เคียงเมื่อครั้งอดีตและสมประสงค์การใช้ประโยชน์ใน
ปัจจุบัน
ซึ่งสามารถแบ่งลักษณะงานด้านการอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถานอันเกี่ยว
เนื่องกับสถาบันพระมหากษัตริย์และการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนาได้ดังนี้
1. งานอนุรักษ์และทำนุบำรุงศาสนสถาน แบ่งได้เป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้านบูรณะ หมายถึง การซ่อมแซมโบราณสถานโดยคำนึงถึงรูปแบบวัสดุและฝีมือช่างดั้งเดิม รวมทั้งหลักฐานทางโบราณคดีและหลักฐานอื่น ๆ ในกรณีที่จำเป็นต้องสร้างเสริมส่วนที่ขาดหายไป ต้องทำให้กลมกลืนกับของเดิม ในขณะเดียวกันก็ต้องแสดงถึงความแตกต่างแยกจากวัสดุของเดิมได้
ด้านปฏิสังขรณ์ หมายถึง การทำให้โบราณสถานที่เสียรูปร่างคืนสู่สภาพเดิมให้ใกล้เคียงที่สุดเท่าที่จะ ทำได้ โดยก่อสร้างขึ้นมาใหม่บนพื้นฐานความถูกต้อง และความเป็นจริงของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ไม่บิดเบือนลักษณะดั้งเดิม ไม่ว่าจะใช้วัสดุดั้งเดิมหรือวัสดุใหม่
ด้านประยุกต์ใช้สอย หมายถึง การปรับเปลี่ยนโบราณสถานเพื่อประโยชน์ใช้สอยใหม่ที่เหมาะสมจากพื้นฐานแนวคิด ที่ว่า วิธีการอนุรักษ์สิ่งก่อสร้างที่ดีที่สุดคือการยังคงใช้ประโยชน์จากอาคารนั้น อยู่โดยประโยชน์ใช้สอยจะไม่เปลี่ยนแปลง สิ่งก่อสร้างหากมีคุณค่า หากมีการเปลี่ยนแปลงก่อสามารถแก้ไขกลับคืนสภาพเดิมได้ หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบน้อยที่สุด
2. งานอนุรักษ์ศาสนวัตถุ จิตรกรรม ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์
3. งานจัดสร้างศาสนสถานหรือศาสนวัตถุเพื่อการใช้ประโยชน์ทางศาสนา
4. งานด้านการส่งเสริมการเผยแผ่ศาสนา
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดมกุฏกษัตริยาราม
พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม | ภูมิทัศน์โดยรอบวัดมกุฏกษัตริยาราม |
งานบูรณะซุ้มประตูหน้าพระวิหาร | ||
รูปแบบในอดีต | รูปแบบก่อนบูรณะ | บูรณะแล้วเสร็จ |
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเทพศิรินทราวาส ในพระบรมราชูปถัมภ์
งานบูรณปฏิสังขรณ์ฐานชุกชีภายในพระอุโบสถ | |
ก่อนบูรณะฐานชุกชี | บูรณะฐานชุกชีแล้วเสร็จ |
งานบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและปรับปรุงภูมิทัศน์ | งานบูรณปฏิสังขรณ์กุฏิสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ |
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชผาติการาม
งานบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถและปรับปรุงภูมิทัศน์ | |
ก่อนบูรณะพระอุโบสถ | บูรณะพระอุโบสถแล้วเสร็จ |
พระเจดีย์ก่อนบูรณะ | พระเจดีย์บูรณะแล้วเสร็จ |
งานบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร | |
ก่อนบูรณะพระวิหาร | บูรณะพระวิหารแล้วเสร็จ |
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอมรินทราวาส
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชนัดดาราม (ศาลาเอนกประสงค์ วัดราชนัดดาราม)
โครงการพัฒนาวัดปทุมวนารามเฉลิมพระเกียรติ (หอกลอง)
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดเครือวัลย์
งานอนุรักษ์ฐานชุกชีพระประธานในพระอุโบสถ | ||
ก่อนดำเนินการ | ระหว่างดำเนินการ | ดำเนินการเสร็จสิ้น |
งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดสุวรรณาราม
งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
โครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดบรมนิวาส
งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถ
โครงการจัดสร้างพระมหามณฑปประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร วัดไตรมิตรวิทยาราม
โครงการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ วัดทิพย์สุคนธาราม จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการจัดสร้างอาคารปฏิบัติธรรม “เบญจมราชวรานุสรณ์” และพระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฏราชกุมาร
โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ ปี ๒๕๕๕ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
โครงการอบรมค่ายศิลธรรม จริยธรรม นักเรียน นักศึกษา ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี
โครงการปทุมมามหาสิกขาลัย ศูนย์การเรียนรู้ธรรมของคนรุ่นใหม่ ใจกลางมหานคร ตอน “พุทธชยันตีบูชา น้อมถวายบุญญา มหาราชา มหาราชินี” วัดปทุมวนาราม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น