สมเด็จพระสังฆราชกับพระไตรปิฏกสากล

สมเด็จพระสังฆราชกับพระไตรปิฎก 


ทรงเป็นนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์
ในฐานะนายกกรรมการมูลนิธิมหามกุฎราชวิทยาลัย ได้ทรงอำนวยการให้เกิดผลงานอัน เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาขึ้นหลายอย่าง กล่าวคือ 


 ( โปรดให้มีการแปลตำรานักธรรมชั้นตรี ชั้นโท และชั้นเอก ซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของคณะสงฆ์ไทย เป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนี้เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการศึกษาพระพุทธศาสนาของภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศที่เข้ามาบวชศึกษาอยู่ในประเทศไทย ตลอดถึงเป็นการ เอื้อประโยชน์ต่อชาวต่างประเทศทั่วไปที่สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาด้วย ทั้งเป็นการเผยแพร่ผลงาน ของบูรพาจารย์ที่เป็นนักปราชญ์ทางพระพุทธศาสนาของไทยให้เป็นที่แพร่หลายไปยังนานาประเทศด้วย


( โปรดให้มีการแปลพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถาเป็นภาษาไทย การแปลพระไตรปิฎก เป็นภาษาไทย ได้มีการแปลมาแต่ครั้งรัชกาลที่   ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสสเทโว) วัดสุทัศน์เทพวราราม และได้จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรกคราวงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ..๒๕๐๐  แต่พระไตรปิฎกแปลครั้งนั้น ยังไม่มีการแปลอรรถกถา ซึ่งเป็นคำอธิบายพระไตรปิฎกควบคู่กันไปด้วย ในครั้งนี้ จึงโปรดให้แปลคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งเป็นคัมภีร์คู่กับพระไตรปิฎก และพิมพ์คู่กับพระไตรปิฎกด้วย ฉะนั้นพระไตรปิฎกแปลฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยจึงแปลกกว่าพระไตรปิฎกฉบับที่เคยแปลมาแต่ก่อน เพราะมีอรรถกถา (คำอธิบาย) พิมพ์ควบคู่กันไปด้วย พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัยดังกล่าวนี้จึงมีจำนวนถึง ๙๑ เล่ม (พระไตรปิฎก ๔๕ เล่มรวมกับอรรถกถาด้วย เป็น ๙๑ เล่ม) การที่ได้แปลคัมภีร์อรรถกถา ออกเป็นภาษาไทยด้วยนั้น นับเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาพระไตรปิฎกเป็นอย่างมาก เพราะเนื้อหา และเรื่องราวบางอย่างของพระพุทธศาสนาที่ไม่มีปรากฏในพระไตรปิฎกนั้น มักมีปรากฏอยู่ใน คัมภีร์อรรถกถา คัมภีร์ทั้งสองจึงเป็นคัมภีร์สำคัญคัมภีร์หลักของพระพุทธศาสนา การแปลคัมภีร์ สำคัญทั้งสองเป็นภาษาไทย จึงเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก
พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปลฉบับดังกล่าว มหามกุฎราชวิทยาลัยได้จัดพิมพ์เนื่องใน โอกาสครบ ๒๐๐ ปีแห่งพระราชาวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพ..๒๕๒๕  เป็นครั้งแรก


ในปี พ.ศ. 2542 กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ท่านผู้หญิง ม.ล. มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชปูถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ริเริ่มโครงการพระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับสากล เนื่องจากกองทุนสนทนาธัมม์นําสุขฯได้รับการบอกบุญจากต่างประเทศให้อุปถัมภ์ จัดพิมพ์พระคัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งบันทึกพระพุทธพจน์ปาฬิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอักษรโรมัน

กอง ทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้นำความขึ้นกราบทูลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้ทรงเป็นผู้แทนของผู้เชี่ยวชาญพระไตรปิฎกปาฬิแห่งประเทศไทยและเข้าร่วมการ ประชุมสังคายนานานาชาติเมื่อ พ.ศ. 2500 ด้วยเหตุนี้ ได้ได้ทรงมีพระบัญชา เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2542 ให้นำต้นฉบับการสังคายนานานาชาติ พ.ศ. 2500 มาจัดพิมพ์เป็นอักษรโรมัน และทรงประกาศแต่งตั้งคณะทำงานตรวจทานต้นฉบับ และจัดพิมพ์เป็นฉบับอักษรโรมัน โดยมีผู้อุปถัมภ์เป็นที่ปรึกษาและดําเนินการ ซึ่งยังคงดำเนินงานอยู่จนถึงปัจจุบัน ในปี พ.ศ. 2553  

 พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติพุทธศักราช 2500 ชุด 40 เล่ม อักษรโรมัน จัดพิมพ์โดยกองทุนสนทนาธัมม์นสุขฯ ในพระสังฆราชูปถัมภ์ฯ พ.ศ.2548
 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ผู้ทรงร่วมสังคายนาสากล พ.ศ. 2500 และองค์พระสังฆราชูปถัมภ์พระไตรปิฎกสากล พ.ศ. 2542-ปัจจุบันสมเด็จพระสังฆราชประทาน ชื่อพระไตรปิฎกเป็น ปาฬิภาสา ว่า   Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500

และชื่อเป็นภาษาไทยว่า    พระไตรปิฎกปาฬิ ฉบับมหาสังคายนาสากลนานาชาติ พ.ศ. 2500
พิมพ์อักษรโรมัน พ.ศ. 2548
The Buddhist Era 2500 Great International Council Pāḷi Tipiṭaka
in Roman-script Edition 2005



ชื่อพระไตรปิฎก เป็นปาฬิภาสา ว่า มหาสงฺคีติ ติปิฏก พุทฺธวสฺเส 2500 (Mahāsaṅgīti Tipiṭaka Buddhavasse 2500)

ใน การจัดเตรียมต้นฉบับอักษรโรมัน กองทนุสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้ใช้ข้อมูลบางส่วนของต้นฉบับอิเล็กทรอนิกส์ 2 แหล่งที่ได้รับมอบเป็นธัมมทานเป็นฐานข้อมูลเบื้องต้น แต่กองทุนสนทนาธัมม์นําสุขฯ ได้พบว่าฐานข้อมูลดังกล่าว ยังมีข้อบกพร่องและมีการพิมพ์ผิดอยู่ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ จึงได้ดําเนินการตรวจทานต้นฉบับ "ปาฬิภาสา" ซึ่งได้ปริวรรตเป็น "อักษรโรมัน" ทั้งหมด 3 ครั้ง ด้วยวิธีพิเศษ คือ การอ่านออกเสียงปาฬิสังวัธยาย โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งอ่านพระไตรปิฎกเป็นอักษรโรมันได้ เพื่อตรวจสอบการเรียงพิมพ์ และแก้ไขข้อพกพร่องต่างๆ ในอดีต รวมเนื้องานในพระไตรปิฎกปาฬิ ทั้งชุด 40 เล่ม ซึ่งมีจํานวน 2,708,706 คํา หรือจํานวน 20,606,104 อักษรโรมัน



กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ มอบคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ เป็นธัมมบัณณาการแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ กองทุนสนทนาธัมม์นำสุขฯ ได้ดำเนินการเพิ่มข้อมูลอ้างอิงของฉบับสากลนี้ กับพระไตรปิฏกปาฬิฉบับอักษรต่างๆ ของโลก 18 ฉบับ จากคลังพระไตรปิฎกอักษรนานาชาติกว่า 2,000 เล่ม ซึ่งกองทุนสนทนาธัมม์นำสุข ได้ใช้เอกสารอ้างอิง และปัจจุบันได้มอบเป็นธัมมบัณณาการแก่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประดิษฐานเพื่อเป็นหลักฐานให้นักวิชาการสามารถตรวจสอบในการดำเนินงานทั้งหมด ได้ ณ หอพระไตรปิฎกนานาชาติ ในอาคารเก่าแก่แห่งแรกของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย




     พระไตรปิฎกสากล และพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง จัดพิมพ์เป็น ปาฬิภาสา อักษรโรมัน ชุดละ 40 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550   โครงการมีนโยบายสําหรับการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่สถาบัน สําคัญนานาชาติทั่วโลกที่ได้ขอพระราชทานมาอย่างเป็นทางการ โดยจะพระราชทานเป็นลําดับแรกแก่สถาบันที่ส่งเสริมการศึกษาฐานปัญญาเพื่อ สันติสุข หรือเป็นสถาบันที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม” ในอดีต และปัจจุบันยังคงรักษาไว้เป็นอย่างดี


พระไตรปิฎกสากล และพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง จัดพิมพ์เป็น ปาฬิภาสา อักษรโรมัน ชุดละ 40 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550   โครงการมีนโยบายสําหรับการพระราชทานพระไตรปิฎกสากลอักษรโรมันแก่สถาบัน สําคัญนานาชาติทั่วโลกที่ได้ขอพระราชทานมาอย่างเป็นทางการ โดยจะพระราชทานเป็นลําดับแรกแก่สถาบันที่ส่งเสริมการศึกษาฐานปัญญาเพื่อ สันติสุข หรือเป็นสถาบันที่เคยได้รับพระราชทานพระไตรปิฎกปาฬิ “จุลจอมเกล้าบรมธัมมิกมหาราช ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) อักษรสยาม” ในอดีต และปัจจุบันยังคงรักษาไว้เป็นอย่างดี



ดูรายละเอียดของนโยบายการพระราชทานได้ที่
http://society.worldtipitaka.info/about-us/policy-framework-for-tipitaka-presentation

พระไตรปิฎกปาฬิ จุลจอมเกล้า บรมธัมมิกมหาราช เป็นการจัดพิมพ์ โดยบูรณาการจากฐานข้อมูลของพระไตรปิฎก ฉบับต่างๆ รวม 3 ชุด ใช้เวลาในการดำเนินงานทั้งสิ้น ประมาณ 10 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2542-2553



Credit : พระไตรปิฎกสากล
กองทุนสนทนาธัมม์นำสุข  ท่านผู้หญิง ม.ล.มณีรัตน์ บุนนาค ในพระสังฆราชูปถัมภ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

ปทานุกรมพระไตรปิฎกศึกษาอ้างอิง

แสตมป์ 100 ปี สมเด็จพระสังฆราช