บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2012

โครงการเตปิฏกสุเตสีบัณฑิต เข้ากราบมุทิตาสมเด็จพระพุทธชินวงศ์

รูปภาพ
โครงการเตปิฏกสุเตสีบัณทิต   แสดงมุทิตาสักการะสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เนื่องในวันเข้าพรรษา และ ในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบ ๗๑ ปี พร้อมทั้ง กราบถวายรายงานเกี่ยวกับโครงการเตปิฏกสุเตสีบัณฑิต            เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๕๕ ที่ผ่านมา พระอาจารย์ไพโรจน์  ญาณกุสโล ประธานโครงการเตปิฏกสุเตสีบัณฑิต นำคณะสงฆ์ และนักศึกษาโครงการฯ เข้ากราบมุทิตาสักการะสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันเกิดครบ ๗๑ ปี และเข้าพรรษา พร้อมกันนี้ ได้กราบถวายรายงานเกี่ยวกับหลักสูตรเตปิฏกสุเตสนศึกษา ในคราวนี้ด้วย ณ กุฏิทรงช่วย อาคารเก่าแก่ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เป็นเงิน ๑๐ ชั่ง ช่วยสร้างเสนาสนะสงฆ์ เป็นอาคารทรงปั้นหยา ๒ ชั้น โครงสร้างก่ออิฐถือปูน ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เมื่อปี ๒๔๔๐ วัดพิชยญาติการาม เขตคลองสาน

วัดพิชยญาติการาม วรวิหาร

รูปภาพ
  "วัด พิชยญาติการามวรวิหาร"หรือ วัดพิชัยญาติ ตั้งอยู่เชิงสะพานพุทธ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมเป็นวัดร้าง แต่สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต บุนนาค) ครั้งมีบรรดา ศักดิ์เป็นพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา ได้ปฏิ สังขรณ์ขึ้นใหม่ประมาณ พ.ศ.2372-2375 แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวงในรัชกาลที่ 3 ได้รับพระราชทานนามว่า วัดพระยาญาติการาม แต่ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า วัดพิชัยญาติ ใน สมัยรัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนชื่อวัดใหม่เป็น "วัดพิชยญาติการาม" หรือที่คนทั่วไปเรียกกันว่า "วัดพิชัยญาติ" วัดพิชัยญาติเป็นวัดที่มีบริเวณสวยงาม พระอุโบสถเป็นศิลปะแบบจีน มีขนาดไม่ใหญ่ ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา ด้านนอกพระอุโบสถมีเสาพาไลทำด้วยศิลากลม ที่ฐานเสาพาไลสลักเป็นเรื่องสามก๊ก สองข้างพระอุโบสถเป็นพระเจดีย์บนฐานสูงได้สัดส่วน มีพระปรางค์ขนาด ใหญ่ตั้งอยู่บนฐานสูงดูโดดเด่นแลเห็นแต่

ถวายมุทิตาสักการะ

รูปภาพ
ถวายมุทิตาสักการะ แด่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.๙, M.A., Ph.D.) ศาสตราจารย์พิเศษ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีพุทธโฆส นครปฐม วันที่ ๓ ธันวาคม ๒๕๕๔  พระธรรมโกศาจารย์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำผู้บริหาร คณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ถวายมุทิตาสักการะแด่พระมหาเถระ และพระเถรานุเถระ ผู้มีอุปการคุณของมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับสูง คณาจารย์ พระเจ้าหน้าที่ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้รับ พระราชทานสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นต่างๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๔ พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔

มหาธาตุวิทยาลัย

รูปภาพ
เล่าเรื่อง "มหาธาตุวิทยาลัย"                                        ที่คณะ ๑ วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ณ หอปริยัติ ทางด้านเหนือ มีป้ายขนาดใหญ่ทำด้วยไม้ ๒ ป้าย เป็นอักษรไทย และอักษรขอม อ่านว่า มหาธาตุวิทยาลัย เหมือนกัน คนที่ผ่านไปมาเห็นแล้วอาจจะไม่มีความสนใจว่า เขาติดป้ายดังนี้ไว้ทำไม ข้าพเจ้าจึงปรารถนาจะทำความเข้าใจตามที่ได้รู้มา           ที่จริงป้ายตัวจริงนั้นเป็นอักษรขอมอ่านว่า มหาธาตุวิทยาลัย อย่างเดียว แต่ไม่ได้อยู่ที่วัดมหาธาตุในเวลานี้เดี๋ยวนี้ป้ายนั้นเก็บไว้ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพราะถือว่าเป็นโบราณวัตถุชิ้นหนึ่งของชาติไทย ทำไมจึงเป็นวัตถุสำคัญ? ตอบว่าเพราะคำว่า มหาธาตุวิทยาลัย นี้เฉพาะคำว่า วิทยาลัย เป็นคำที่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่๕ ทรงบัญญัติคำนี้เป็นคำแรกว่า มหาธาตุวิทยาลัย คำว่าวิทยาลัยอื่นเช่น สวนกุหลาบวิทยาลัย เป็นต้น บัญญัติใช้หลังจากคำว่า มหาธาตุวิทยาลัย           ข้าพเจ้าได้ความรู้จากอาจารย์กิม หงส์ลดารมภ์เล่าให้ฟังว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสประเทศลังกาได้ทรงทอดพระเนตรเห็นชื่อสถานศึกษาชั้นสูงให้คำว่า วิ